วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561

การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมติ

การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมติ  (Role Playing)

                  วราภรณ์  ศุนาลัย  (2536, หน้า 35 อ้างอิงใน กรมวิชาการ, 2543, หน้า 18)  กล่าวว่า การสอนแบบแสดงบทบาทสมมติ  เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนกำหนดหัวข้อเรื่อง  ปัญหาต่างๆ  หรือสร้างสถานการณ์ขึ้นมาให้คล้ายกับสภาพความเป็นจริง  แล้วให้ผู้เรียนได้เตรียมการล่วงหน้า  แล้วจึงแสดงบทบาทตามที่สมมติขึ้นมาอันเป็นแนวทางที่สามารถนำไปแก้ปัญหาต่างๆ  ที่อาจจะประสบในชีวิตประจำวัน  นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถแสดงบทบาทในชั้นเรียน  โดยไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้า

                  วารี  ถิรจิตร  (2534, หน้า 186  อ้างอิงใน กรมวิชาการ, 2543, หน้า 18)  กล่าวว่า บทบาทสมมติ   หมายถึง  การสมมติบทบาทและจัดสถานการณ์ให้ผู้แสดงบทบาทได้แสดงความรู้สึกนึกคิดอารมณ์จากสถานการณ์ที่สมมติขึ้นซึ่งอาจจะเตรียมมาก่อน  ภายหลังของการแสดงบทบาทสมมติ  จะต้องมีการอภิปรายเกี่ยวกับการแสดงบทบาทความรู้สึกนึกคิดของผู้แสดง  ผู้ดูและมีการสรุปผลของการแสดงบทบาทนั้นด้วย
                  การแสดงบทบาทสมมติเป็นการฝึกให้ผู้แสดงได้ประสบกับสถานการณ์จริงในสภาพของการสมมติ   ขึ้นมา  ทั้งนี้เพื่อฝึกให้ผู้เรียนได้ทดลองและเรียนรู้ที่จะปรับพฤติกรรมของตนอย่างมีประสิทธิภาพในสภาวะต่างๆ
                  การสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติ  (Role Playing)  คือ  เทคนิคการสอนที่ให้ผู้เรียนแสดงบทบาทในสถานการณ์ที่สมมติขึ้น  นั่นคือแสดงบทบาทที่กำหนดให้  การแสดงบทบาทสมมติมี  2  ลักษณะ  คือ
                  1.  ผู้แสดงบทบาทสมมติจะต้องแสดงบทบาทของคนอื่น โดยละทิ้งแบบแผนพฤติกรรมของตนเองหรือการเปลี่ยนบทบาทซึ่งกันและกันกับเพื่อนหรือเป็นบุคคลสมมติ  
                  2.  ผู้แสดงบทบาทจะยังคงรักษาบทบาทและแบบแผนพฤติกรรมของตน  แต่ปฏิบัติอยู่ในสถานการณ์ที่อาจพบในอนาคต  บทบาทสมมติประเภทนี้เป็นประโยชน์ต่อการฝึกฝนทักษะเฉพาะ

                  บทบาทสมมติที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนอยู่ในปัจจุบันนี้  แยกได้เป็น  3  วิธี  ดังนี้
                  1.  การแสดงบทแสดงละคร  วิธีนี้ผู้ที่จะแสดงต้องฝึกซ้อมแสดงท่าทางตามบทที่กำหนดขึ้นไว้แล้ว  เช่น  การแสดงละครเรื่องที่เกี่ยวกับบทเรียนในหนังสือเรียนภาษาไทย  ผู้แสดงบทบาทสมมติแบบละคร  จะต้องพูดตามบทบาทที่ผู้เขียนกำหนดขึ้น
                  2.  การแสดงบทบาทสมมติแบบไม่มีบทเตรียมไว้  ผู้แสดงต้องไม่ฝึกซ้อมมาก่อนเรียนไปถึงเรื่องใดตอนใดก็ออกมาแสดงได้ทันที  โดยแสดงไปตามความรู้สึกนึกคิดของตนเอง  เช่น  แสดงเป็นบุคคลต่างๆ  ในชุมนุมชน  เป็นหมอ  เป็นทหาร  เป็นตำรวจ  นักเรียนได้คิด  ได้พูดและแสดงพฤติกรรมจากความรู้สึกนึกคิดของเขาเอง
                  3.  การใช้บทบาทสมมติแบบเตรียมบทไว้พร้อม  ผู้สอนได้เตรียมบทมาไว้ล้วงหน้าบอกความคิด  รวบยอดให้ผู้แสดงทราบ  ผู้แสดงอาจต้องแสดงตามบทบาทบ้าง  คิดบทบาทขึ้นแสดงเองตามความพอใจบ้าง   แต่ต้องตรงกับเนื้อเรื่องที่กำหนดให้

                  ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมติ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.  ขั้นเตรียมการใช้บทบาทสมมติ  แบ่งเป็น  2  ขั้นตอน  ดังนี้
                  1.1  ขั้นการกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ  ผู้สอนควรศึกษาและทำความเข้าใจพื้นฐานเสียก่อนว่า  ต้องการให้ผู้เรียนได้รับความรู้อะไรบ้างจากการแสดงและกรรมวิธีในการใช้บทบาทสมมตินำไปเพื่อต้องการให้เกิดอะไรขึ้น
                  1.2  ขั้นสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติ  เมื่อผู้สอนได้ศึกษาและเข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์เฉพาะในการเตรียมใช้บทบาทสมมติแล้ว  ก็จำเป็นต้องสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติให้สอดคล้องต้องกันกับวัตถุประสงค์ดังกล่าว  ซึ่งจำเป็นต้องเล็งเห็นถึงวัยของผู้เรียน  เนื้อหาสาระ  ปัญหา  ความเป็นจริง  ข้อโต้แข้ง  ตลอดจนอุปสรรคที่จำเป็นต่างๆ  ที่ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนได้รู้จักคิด  ปฏิบัติและแก้ไขด้วยตนเอง
2.  ขั้นแสดงบทบาทสมมติ  แบ่งเป็น  7  ขั้นตอน  ดังนี้
                  2.1  การนำเข้าสู่สถานการณ์  ผู้สอนเตรียมเรื่องหรือสถานการณ์ให้ผู้เรียน แล้วนำเรื่องราวมาเล่าให้ผู้เรียนฟัง  เพื่อเป็นการเร้าความสนใจ เป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนอยากเรียนและ   อยากติดตาม  และควรให้ผู้เรียนได้เล็งเห็นประโยชน์ที่จะได้รับ จากการที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงบทบาทสมมตินั้นๆ    
                  2.2  การกำหนดตัวผู้แสดง  การเลือกผู้แสดงขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการสอนและ    การแสดงสำหรับการเลือกตัวผู้แสดง  ควรให้ผู้เรียนอาสาสมัครมาแสดงบทบาทด้วยความเต็มใจ
                  2.3  การจัดสถานที่  ผู้สอนควรให้ผู้เรียนได้ร่วมมือในการจัดสถานที่สำหรับการแสดงบทบาทสมมติ  ซึ่งควรจัดและดัดแปลงให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่กำหนดไว้
                  2.4  การกำหนดตัวผู้สังเกตการณ์ โดยผู้สอนอาจจะกำหนดผู้เรียนกลุ่มหนึ่งให้เป็น          ผู้สังเกตการณ์ในการแสดงบทบาท  โดยฝึกให้เป็นคนช่างสังเกตและรวบรวมข้อมูลต่างๆ  เพื่อนำมาวิเคราะห์  อภิปราย  และแก้ปัญหาร่วมกัน  หลังจากสิ้นสุดการแสดงบทบาทสมมติแล้ว
                  2.5  การเตรียมพร้อมก่อนการแสดง  วิธีเตรียมความพร้อมนั้นผู้สอนต้องเป็นผู้ช่วยเหลือไม่ให้ผู้เรียนต้องมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแสดงให้มากเกินไป  ควรชี้แจงให้ผู้แสดงทราบว่า  การแสดงก็เหมือนกับการพูด  คุย  และเล่นกันธรรมดา  เพียงแต่ต้องแสดงบทบาทต่างๆ  ตามที่ได้กำหนดไว้เท่านั้น
                  2.6  การลงมือแสดง  เมื่อผู้แสดงพร้อมแล้วก็เริ่มลงมือแสดงได้เลย  ควรเปิดโอกาสให้   ผู้แสดงได้ใช้ความสามารถของตนได้เต็มที่  ถ้าเกิดปัญหาขึ้นในขณะที่แสดง  ผู้สอนควรมีส่วนร่วมในการแก้ไขสถานการณ์  เพื่อให้การแสดงเป็นไปตามธรรมชาติและราบรื่นต่อไป
                  2.7  การตัดบท  ถ้าบังเอิญการแสดงของผู้เรียนยืดเยื้อและใช้เวลานานเกินความจำเป็นและผู้สอนที่ความคิดเห็นว่าได้ข้อมูลในการแสดงพอสมควรแล้ว  ก็สามารถขอให้ยุติการแสดง   เพื่อจะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์และอภิปรายและแก้ไขปัญหาต่างๆ  ต่อไป
3.  ขั้นวิเคราะห์และอภิปรายผล  การนำข้อมูลที่ได้จากการแสดงมาวิเคราะห์และอภิปราย  ผู้สอนและผู้เรียนต้องร่วมมือกัน  แต่ควรอภิปรายในรูปแบบของความมีเหตุมีผลเฉพาะการแสดงออกของผู้แสดงทางพฤติกรรมเท่านั้น  แต่จะไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับตัวผู้แสดง
4.  ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสรุป  เมื่อได้วิเคราะห์และอภิปรายผลของการแสดงแล้ว  ผู้สอนจะเป็นผู้เร้าและจูงใจให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ  เพื่อให้มีแนวคิดกว้างขวางขึ้น  โดยให้ข้อคิดว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้หรือประสบพบเห็นนั้นๆ  จะเกี่ยวข้องกับความเป็น จริงทั้งสิ้น  แล้วให้ผู้เรียนช่วยกันให้แนวมโนทัศน์และช่วยกันสรุปประเด็นให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการแสดงบทบาทสมมติที่กำหนดไว้            






                                                 



ที่มา

ครูดำ. https://www.gotoknow.org/posts/506108 . [Online]. เข้าถึงเมื่อวันที่
         14 สิงหาคม 2561.










วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2561

นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

นิภา แย้มวจี (2552) ได้รวบรวมไว้ว่า
สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้  สื่อการเรียนการสอน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอนในแต่ละคาบ
คุณค่าและประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
          1. ช่วยให้ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการตอบสนองตามที่คาดหวัง จะให้เกิดในตัวนักเรียน
          2. ช่วยให้ครูจัดประสบการณ์ให้ นักเรียนได้หลายรูปแบบเช่น ใช้เทปเสียง วีดีทัศน์ การสาธิต หรือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น
          3. ช่วยครูในการเพิ่มพูนประสบการณ์ ความรู้ให้แก่นักเรียน เช่น ทำรายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ สไลด์ มาให้เด็กชม
          4. ช่วยครูจำลองของแทนของจริงที่ไม่สามารถนำมาให้ดูได้ เช่นการเดินทางของดวงจันทร์หมุนรอบโลก ลูกโลก
          5. ช่วยครูสื่อความหมายกับนักเรียนได้ดีขึ้น



การพิจารณาเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสม จะช่วยให้ผู้เรียนสนใจ สนุกสนาน และบรรลุวัตถุประสงค์
          1. ความเหมาะสม สื่อเหมาะกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์
          2. ความถูกต้อง สื่อช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปถูกต้อง
          3. ความเข้าใจ สื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล และให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
          4. เหมาะสมกับวัย สื่อมีความยากง่ายเหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจและความต้องการของผู้เรียน
          5. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้อง
          6. ใช้การได้ดี เพื่อใช้สื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้
          7. คุ้มกับราคา ผลที่ได้คุ้มกับเวลา เงินและการเตรียม
          8. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการ
          9. ช่วงเวลา ความสนใจ สื่อช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจ ช่วงเวลานานพอสมควร
แนวทางการผลิตและเลือกสื่อการสอนหมวดวิชาคณิตศาสตร์
          วิชาคณิตศาสตร์ เป็นทักษะเชิงสติปัญญาที่ต้องใช้กระบวนการทางสติปัญญาสูงกว่าทักษะทางกายอื่น ๆ เนื้อหาสาระทางคณิตศาสตร์เป็นประสบการณ์นามธรรม สิ่งที่ผู้เรียนได้พบเห็นส่วนใหญ่เป็นสัญลักษณ์แทนจำนวน ผู้เรียนที่มีประสบการณ์น้อยจะมีปัญหาด้านนามธรรม การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ จึงมุ่งไปที่การสร้างสภาพการณ์และประสบการณ์รูปธรรม เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจประสบการณ์นามธรรมดีขึ้น สื่อการสอนคณิตศาสตร์ จึงมีตั้งแต่วัสดุที่ใช้แทนจำนวนไปจนถึงสื่อที่สามารถแสดงให้เห็นกระบวนการทางคณิตศาสตร์ชั้นสูง เช่น แสดงการเกิดสมการทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ในรูปของภาพยนตร์หรือเทปโทรทัศน์ เป็นต้น


การผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์ มีข้อคิด ดังนี้
          1. ต้องผลิตสื่อตามเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว โดยกำหนดเป็นหน่วยที่แยกย่อยลงไปจนถึงหนึ่งหน่วยต่อการสอน 1 ครั้ง



2. ควรผลิตและเลือกสื่อการสอนในลักษณะที่มีสื่อมาประกอบกันเป็นชุดการสอน 1 ชุด สำหรับการสอน 1 ครั้ง โดยมีชุดอุปกรณ์หรือ "KIT" ประกอบด้วย
          3. ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสอนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้เพียงด้วยการพูดให้ฟัง ดังนั้นจึงควรผลิตและใช้สื่อการสอนในทุกโอกาสที่จะทำได้
          4. การผลิตและเลือกสื่อการสอน ควรคำนึงถึงธรรมชาติของสื่อในการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ รูปธรรมให้ ผู้เรียนมากที่สุด ทั้งที่เป็นสื่อที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น เมล็ดพืช ก้อนกรวด ก้อนหิน ฯลฯ และสื่อที่มีผู้ผลิตจำหน่าย เช่น ไม้บล๊อค หรือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นการเกิดรูปทรงต่าง ๆ โดยเทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวเข้าช่วย
          5. การเรียนคณิตศาสตร์ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การฝึกฝนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องบูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
          6. ก่อนผลิตและเลือกสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ครูควรได้ศึกษาวิธีการจากระบบสื่อการสอนคณิตศาสตร์ที่มีผู้คิดขึ้นแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อ


อุไรวรรณ (2553) ได้รวบรวมไว้ว่า
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
          สื่อการสอน
 คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิธีการสอน ซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและประสบการให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน
          ในการที่ครูจะถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนนั้นจะต้องอาศัยวิธีการหลายๆอย่าง เพราะปัจจุบันครูไม่ใช่แค่ผู้บอก ครูเพียงเป็นผู้แนะแนวทาง ที่จะให้นักเรียนได้คิดค้นด้วยตนเอง การที่ใช้รูปธรรมเข้าช่วยนั้นจะทำให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น สื่อการเรียนการสอนนั้นมีความสำคัญดังนี้
          ยุพิน พิพิธกุล (2530 :282-283) ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
                   1. ในการสอนนั้นจะต้องให้นักเรียนได้รับประสบการณ์หลายๆด้าน สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
                   2. เนื่องจากนักเรียนมีความสามารถแตกต่างกัน นักเรียนบางคนใช้เพียงการอธิบายก็เข้าใจ แต่บางคนต้องให้ดูรูปภพ ดูวัสดุประกอบจึงจะเข้าใจได้
                   3. เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจและประหยัดเวลาในการสอน
                   4. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดความเข้าใจแน่นแฟ้นและจำไปใช้ ได้นาน
                   5. เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่นักเรียนและทำให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
                   6. การที่จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจได้นั้น ครูควรจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำและใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นๆ

ประเภทของสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
          เพื่อให้ครูคณิตศาสตร์ได้เลือกสื่อการสอนตามวามเหมาะสมแก่สภาพท้องถิ่น สภาพโรงเรียน และเป็นไปด้วยความประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถทำให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ ซึ่ง       ยุพิน พิพิธกุล (2524 : 283 - 284) ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้
          1. วัสดุ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ
                   ก. วัสดุประกอบการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้แก่ แบบเรียน คู่มือครู โครงการสอน เอกสารประกอบการสอน วารสาร จุลสาร บทเรียนแบบโปรแกรม เอกสารแนะแนวทาง เป็นต้น
                   ข. วัสดุประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่ครูทำขึ้นเอง จะใช้กระดาษ ไม้ พลาสติก และสิ่งอื่นๆ ที่ครูประดิษฐ์ขึ้นใช้ประกอบการสอน เช่นกระดาษทำรูปทรงต่างๆทางเรขาคณิต เป็นต้นว่า รูปกรวย ปริซึม พีระมิด ชุดการสอน ภาพเขียน ภาพโปร่งใส ภาพถ่าย แผนภูมิ บัตรคำ กระเป๋าผนัง แผนภาพพลิก กระดานตะปู
                   ค. วัสดุถาวร ได้แก่ กระดานดำ กระดานนิเทศ กระดานกราฟ ของจริง ของจำลอง ของตัวอย่าง เทปบันทึกภาพ เทปเสียง โปสเตอร์ แผนที่ แผ่นเสียง ฟีล์มสตริป
                   ง. วัสดุสิ้นเปลือง ชอร์ก สไลด์ ฟีล์ม ฯลฯ
          2. อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนประเภทอุปกรณ์ที่ใช้กันมากคือ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ซึ่งใช้กับแผ่นโปร่งใส เครื่องขยายสไลด์และฟีล์มสตริป เครื่องเสียง จอฉายภาพ ฯลฯ
          3. กิจกรรม การจัดกิจกรรมต่างๆเป็นสื่อการสอนเช่นเดียวกัน เช่น การทดลอง การจัดนิทรรศการ การเล่นละคร การเล่าเรียน การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต การทำโครงงาน การร้องเพลง คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง (กลอน กาพย์ โคลง ฯลฯ) เกมปริศนา
          4. สิ่งแวดล้อม เป็นสื่อการสอนที่หาได้ง่าย เช่น เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ครูควรแสวงหาสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรามาใช้ เพื่อเป็นการประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีราคาแพง แม้แต่ตัวคนหรือนักเรียนเองก็ถือว่าเป็นสื่อการเรียนการสอน นอกจากนั้น พวกประเภทของจริงก็ใช้ได้ เช่น ใช้ผลไม้มาแบ่งเพื่อสอนเรื่องเศษส่วน เป็นต้น

แนวทางการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์
          สมชาย ลีลานิตย์กุล (2553 : 79) ได้ให้แนวทางในการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
          1. ต้องผลิตสื่อตามเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว โดยกำหนดเป็นหน่วยที่แยกย่อยลงไปจนถึงหนึ่งหน่วยต่อการสอน 1 ครั้ง
          2. ควรผลิตและเลือกสื่อการสอนในลักษณะที่มีสื่อมาประกอบกันเป็นชุดการสอน 1 ชุด สำหรับการสอน 1ครั้ง โดยมีชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย
          3. ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสอนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้เพียงด้วยการพูดให้ฟัง ดังนั้นจึงควรผลิตและใช้สื่อการสอนในทุกโอกาสที่จะทำได้
          4. การผลิตและเลือกสื่อการสอน ควรคำนึงถึงธรรมชาติของสื่อในการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ รูปธรรมให้ ผู้เรียนมากที่สุด ทั้งที่เป็นสื่อที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น เมล็ดพืช ก้อนกรวด ก้อนหิน ฯลฯ และสื่อที่มีผู้ผลิตจำหน่าย เช่น ไม้บล็อก หรือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นการเกิดรูปทรงต่าง ๆ โดยเทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวเข้าช่วย
          5. การเรียนคณิตศาสตร์ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การฝึกฝนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องบูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
          6. ก่อนผลิตและเลือกสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ครูควรได้ศึกษาวิธีการจากระบบสื่อการสอน คณิตศาสตร์ที่มีผู้คิดขึ้นแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อ


(http://oumi024.blogspot.com/2009/08/blog-post_21.html) ได้รวบรวมไว้ว่า

ความหมายของนวัตกรรม

            “นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)

              คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovateแปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่านวัตกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำหมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)



นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
             ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
             ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
             ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
             
          นวัตกรรม คือ การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดประโยชน์ และมีคุณค่า นั้นคือ นิยาม ของ นวัตกรรม คือ ของใหม่ และ มีประโยชน์

ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
              ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาที่นิยมนำมาใช้ในการแก้ปัญหา/พัฒนาการเรียนการสอน
อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
              1. สื่อการเรียนการสอน อาทิ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนวีซีดี บทเรียนซีดีบทเรียนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บทเรียนการ์ตูน แบบฝึกทักษะ ฯลฯ
              2. รูปแบบ/วิธีการเรียนการสอนแบบต่างๆ อาทิ วิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมใจวิธีการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) วิธีการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง วิธีการสอนฝึกกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
              3. หลักสูตรแบบต่างๆ อาทิ หลักสูตรสาระเพิ่มเติม หลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรฝึกอบรม หลักสูตรวิชาชีพต่างๆ ฯลฯ
              4. กระบวนการบริหารแบบต่างๆ อาทิ การบริหารเชิงระบบ การบริหารแบบธรรมาภิบาลการบริหารการจัดการความรู้ การบริหารแบบกัลยาณมิตร การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ฯลฯ
              นวัตกรรมทางการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการ เทคนิค วิธีการ แนวคิด หลักปฏิบัติ เครื่องมือหรือสิ่งใหม่ๆ ที่ได้ผ่านการทดลองและพัฒนาอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ แล้วนำมาใช้ในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการเรียนการสอน


สื่อการสอน 
          คือ ตัวกลางสำคัญที่จะช่วยเชื่อมโยงกระบวนการเรียนการสอนของเราให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น...สื่อการสอนไม่จำเป็นต้องเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์เสมอ ไป แต่มันอาจเป็นตัวหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกกระตุ้น สนใจที่จะเรียนมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นการสร้างบรรยากาศของห้องใหม่ที่ดี เปลี่ยนสไตล์การสอน ทำกิจกรรม อย่างนี้เป็นต้น

ประเภทสื่อการสอน
          1. ประเภทวัสดุ ( Material or Software ) เป็นสื่ออยู่ในรูปของภาพ เสียง หรือตัวอักษร แยกได้เป็น 2 ชนิด คือ
                   1.1 ชนิดที่สามารถสื่อความหมายได้ด้วยตัวของมันเอง เช่น รูปภาพ แผนภูมิ ภาพวาด หนังสือ
                   1.2 ชนิดที่ต้องอาศัยเครื่องมือเสนอเรื่องราวไปสู่ผู้เรียน เช่น ภาพโปร่งแสง สไลด์ แถบบันทึกเสียง ฟิล์มภาพยนตร์ เป็นต้น
          2. ประเภทเครื่องมือ (Hardware or Equipment) หมายถึง เครื่องมือที่เป็นตัวกลางส่งผ่านความรู้ไปสู่ผู้เรียน เช่น เครื่องฉายชนิดต่าง ๆ เครื่องเสียงชนิดต่าง ๆ เครื่องรับและส่งวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งต้องอาศัยวัสดุประกอบเช่น ฟิล์มแถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ เป็นต้น
          3. ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ (Technique or Method) หมายถึง เทคนิคหรือวิธีการที่จะใช้ร่วมกับวัสดุและเครื่องมือ หรือใช้เพียงลำพังในการจัดการเรียนการสอนได้แก่ การสาธิต การทดลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ เป็นต้น

          ผู้เรียนจะบรรลุจุดประสงค์การเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์นั้นๆ และจะต้องมีเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อนำสามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ไปสู่ผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ หรือมีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่น่าสนใจ

บทบาทของสื่อการสอน 
          คือ สื่อจะทำให้ครูมีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น เพราะมีความหลากหลาย และน่าสนใจ สื่อยังเป็นสิ่งที่ใช้พัฒนาผู้เรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ เรียนรู้อย่างชัดเจน และทำให้ผู้เรียนสนใจเรียนมากขึ้นด้วย

ตัวอย่างสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์







สรุป
“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น






ที่มา
 นิภา แย้มวจี. (2552). http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?
            NewsID=11275&Key=hotnews. [Online] เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2561.
อุไรวรรณ. (2553). http://teaching-maths3.blogspot.com/2010/07/blog-
            post_1999.html. [Online] เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2561.

http://oumi024.blogspot.com/2009/08/blog-post_21.html. [Online] เข้าถึงเมื่อวันที่ 
            10 สิงหาคม 2561.

วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

วิธีการจัดการเรียนรู้และเทคนิคจัดการเรียนรู้


รูปแบบจัดการเรียนรู้และเทคนิคจัดการเรียนรู้


การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ
         1.การจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย (Lecture Method)
         2.การจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย (Discussion Method)
         3.การจัดการเรียนรู้โดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion)
         4.การจัดการเรียนรู้แบบสาธิต (Demonstration Method)
         5.การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมุติ (Role Method)
         6.การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแสดงละคร (Dramatization)
         7.การจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง (Simulation)
         8. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม (Game)
         9.การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ (Process)
        10.การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการสุ่ม (Group Process)
        11.การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
        12.การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค TGT (Team Games Tournaments)
        13.การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD (Student Teams Achievement Divisions)
        14.การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค JIGSAW
        15.การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integration)
        16.การจัดการเรียนรู้แบบ STORYLINE
        17.การจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา (Concentrated Language Encounters)
        18.การจัดการเรียนรู้แบบชี้แนะ (Direct Instruction)
        19.การจัดการเรียนรู้แบบ SQ 3R

การเรียนรู้โดยแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
        20.การจัดการเรียนรู้แบบเอกัตภาพ (Individualized Instruction)
        21.การจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนรู้ (Learning Center)
        22.การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนโปรแกรม(Programmed Instruction)
        23.การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนโมดูล (Instructional Module)
        24.การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน (Instructional Package)
        25.การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
        26.การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project Method)
        27.การจัดการเรียนรู้โดยการไปทัศนศึกษา (Field Trip)
        28.การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ

การเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม
        29.การจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา
        30.การจัดการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ
        31.การจัดการเรียนรู้โดยใช้ค่านิยมให้กระจ่าง
        32.การจัดการเรียนรู้แบบเบญจขันธ์
        33.การจัดการเรียนรู้ตามขั้นทั้งสี่ของอริยสัจ
        34.การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างนิสัย
        35.การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจริยธรรม
        36.การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ
        37.การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์
        38.การจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทาน
        39.การจัดการเรียนรู้แบบซักค้าน

การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด
40.การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Inductive Method)
41.การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive Method)
42.การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method)
43.การจัดการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
44.การจัดการเรียนรู้แบบทดลอง (Experimental Method)
45.การจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา (Problem Solving Method)
46.การจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาโดยใช้สาระสนเทศ (Information Problem-Solving Approach)
47.การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Question Method)
48.การจัดการเรียนรู้แบบ KWL (Know-Want-Learned)
49.การจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Case Study Method)
50.การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ (Creative Teaching)
         51.การจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง (Brainstroming Method)
         52.การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ (Synectics Method)
         53.การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ความรู้ (Constructivism)
         54.การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method)
         55.การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม (Groub Investigation Method)
         56.การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT
         57.การจัดการเรียนรู้แบบจัดกรอบมโนทัศน์ (Concept Mapping Techinique)
         58.การจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังความรู้แบบวี (Knowledge Vee Diagramming)
         59.การจัดการเรียนรู้แบบวรรณี (Wannee Teaching Model)
         60.การจัดการเรียนรู้แบบการพยากรณ์ (Forecast or Prediction Method)
         61.การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี / สิ่งพิมพ์
         62.การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งวิทยากรในชุมชน
         63.การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบเรียนสำเร็จรูป
         64.การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
         65.การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
         66.การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บช่วยสอน
         67.การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บเควสท
         68.การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก
         69.การจัดการเรียนรู้โดยการตัดสินใจอย่างฉลาด
         70.การจัดการเรียนรู้โดยการสร้างแผนผังความคิด
         71.การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา
  
เทคนิคการจัดการเรียนรู้
         72.เทคนิคการต่อเรื่องราว (Jigsaw)
         73.เทคนิคคู่คิด (Think-Pair-Share)
         74.เทคนิคคู่คิดสี่สหาย (Think-Pair-Share)
         75.เทคนิคคู่ตรวจสอบ (Pair Check)
         76.เทคนิคเล่าเรื่องราว (Roundrobin)
         77.เทคนิคโต๊ะกลม (Roundtable)
         78.เทคนิคการเรียนร่วมกัน (Learning Together)
         79.เทคนิคร่วมกันคิด (Numbered Heads Together)
         80.เทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI : Groop Investigation)
         81.เทคนิคการจัดทีมแข่งขัน (TGT : Team Games Tournament)
         82.เทคนิคแบ่งปันความสำเร็จ (STAD : Student Teams Achievement Division)
         83.เทคนิคการสัมภาษณ์ 3 ขั้นตอน (Three Step Interview)
         84.เทคนิคช่วยกันคิดช่วยการเรียน (TAI : Team Assited Individualization)
         85.เทคนิคการเรียนรู้แบบวิธีการติดต่อภาพ รูปแบบที่(Jigsaw 1)
         86.เทคนิคการเรียนรู้แบบวิธีการติดต่อภาพ รูปแบบที่2 (Jigsaw 2)
         87. เทคนิคการเรียนรู้แบบ CO-OP  CO-OP





ที่มา
สุวิทย์ มูลคำ, อรทัย มูลคำ.(2545).วิธีการจัดการเรียนรู้. วิธีการจัดการเรียนรู้:เพื่อพัฒนา
        ความรู้และทักษะ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์การพิมพ์.
ประกาศิต อานุภาพแสนยากร.(2559). เอกสารคำสอน รายวิชา การจัดการเรียนรู้
        คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 2559.

การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมติ

การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมติ   (Role Playing)                   วราภรณ์  ศุนาลัย  ( 2536, หน้า 35 อ้างอิงใน กรมวิชาการ , 2543 ข ...