ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ
(Natural Unfoldment )
ทิศนา
เเขมมณี(2555 : 45).
ได้รวบรวบรวมเกี่ยวกับ ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (
Natural Unfoldment) ไว้ว่า นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ
รุสโซ (Rousseau)ฟรอเบล (Froebel)และเพสตาลอสซี(Pestalozzi)นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อดังนี้
ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดี
และการกระทำใดๆ เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในของมนุษย์(good-active)
2.ธรรมชาติ
ของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรุ้และพัฒนาตนเองหากได้รับเสรีภาพใน
การเรียนรู้ มนุษย์ก็จะสามารถพัฒนาตนเองไปตามธรรมชาติ
3.รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆเด็กมีสภาวะของเด็ก
ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
4.รุสโซมีความเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญ
เด็กจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติคือ การเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
จากผลของการกระทำของตนมิใช่การเรียนจากหนังสือ หรือจากการพูดบรรยาย
5.เพสตาลอสซี
มีความเชื่อว่าคนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือ”คนสัตว์”ซึ่งมีลักษณะเปิดเผย เป็นทาสของกิเลส ”คนสังคม ”มีลักษณะที่จะเข้ากับสังคมคล้อยตามสังคมและ”คุณธรรม”ซึ่งเป็นลักษณะของการรู้จักรับผิดชอบชั่วดีคนจะต้องมีการพัฒนาใน
3 ลักษณะดังกล่าว
6.เพสตาลอสซี
เชื่อว่าการใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอน จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
7.ฟรอเบล
เชื่อว่า ควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็กอายุ 3-5
โดยเด็เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
8.ฟรอเบล
เชื่อว่า การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก
หลักการจัดการศึกษา
/ การสอน
1.การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่
เนื่องจากเด็กมีสภาวะที่ต่างไปจากวัยอื่นๆ
2. การจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง
ให้เสรีภาพแก่เด็กที่จะเรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน
เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ
3. ลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก
คือ การจัดให้เด็กได้เรียนรู้จากธรรมชาติ ได้แก่
3.1 ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ
3.2 ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
3.3 ให้เด็กได้เรียนจากของจริง และประสบการณ์จริง
3.4 ให้เด็กได้เรียนรู้จากผลของการกระทำของตน
4. การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เด็กจะต้องคำนึงถึงความแตกตางระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก
สุรางค์
โคว้ตระกูล (2545).
ได้รวบรวมถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ ( Natural
Unfoldment ) ไว้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า
ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ
การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ
เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่
และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน
ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก
(
http://www.neric-club.com/data.php?page=3&menu_id=97) ได้กล่าวไว้ว่าทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural
Unfoldment) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า
ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ
การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ
เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะ
ต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่
และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตนให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ
สรุป
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ
( Natural
Unfoldment ) ว่าธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ
การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่
และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน
ที่มา
ทิศนา
แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน :
องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
สุรางค์
โคว้ตระกูล. (2545). จิตวิทยาการศึกษา.
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ
(http://www.neric-club.com/data.php?page=3&menu_id=97). ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้.
เข้าถึงเมื่อ
10 กรกฎาคม 2561
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น