ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม
(Cognitivism)
มาลิณี
จุโฑปะมา (2554 : 81-82)
ได้กล่าวถึงทฤษฎีพุทธิปัญญานิยมไว้ดังนี้
ทฤษฎีพุทธิปัญญานิยม
(Cognitivism)
เชื่อว่าหลักการจัดการเรียนรู้เป็นการจัดโครงสร้างใหม่ของการรับรู้และมโนคติ
เน้นความสำคัญของกิจกรรมทางสมองเน้นความสามารถเฉพาะตัวของบุคคล
ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
ทฤษฎีพุทธิปัญญานิยมที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ได้แก่ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์
(Gestalt’s
Theory) นักจิตวิทยาเกสตัลท์ (Gestalt
Psychologists) ประกอบด้วย เวอร์ไทเมอร์ (Wertheimer) เป็นผู้นำมีเลอวิน (Lewin) คอฟฟ์กา (Koffka) และโคห์เลอร์ (Kohler) เป็นผู้ร่วมคณะ
ซึ่งมีแนวคิดแตกต่างกับทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยมโดยกลุ่มเกสตัลท์เน้นการเรียนรู้ที่เกิดจากการรับรู้เป็นส่วนรวมหรือส่วนรวมมีค่ามากกว่าส่วนย่อยและการเชื่อมโยงประสบการณ์เก่าเข้ากับใหม่เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา
ส่วนคำว่าเกสตัลท์ เป็นภาษาเยอรมันหมายถึงรู้แบบหรือแบบแผน
โดยส่วนรวมมากกว่าที่จะมุ่งเน้นส่วนย่อยและเน้นว่า กระบวนการทางสมอง (Intellectual
Process) มีบทบาทสำคัญมากในการเรียนรู้ โดยมีแนวคิดว่าการเรียนรู้เกิดขึ้น
เนื่องมาจากการรับรู้สภาพการณ์โดยส่วนรวม
ไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าใดสิ่งเร้าหนึ่งเพียงสิ่งเร้าเดียว
และเมื่อผู้เรียนได้ปะทะกับสิ่งเร้า จะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่างๆ
แล้วสามารถสรุปหรือสร้างความคิดรวบยอดที่เกี่ยวกับสิ่งเร้า
แล้วนำไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์อื่นๆได้
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมว่าเป็นผลมาจากผู้เรียนมีการแก้ปัญหาและค้นพบ
ข้อเท็จจริงในการแก้ปัญหา โดยเล็งเห็นความสัมพันธ์ ของข้อเท็จจริง
เข้าใจว่าปัญหานั้นๆ เป็นผลรวมของอะไรบ้างเมื่อคนเราแก้ปัญหาของตนได้ จะบังเกิดความคิดความเข้าใจแจ่มแจ้งขึ้น
ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า “การหยั่งเห็น” (Insight) ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาโดยการมองเห็นความสัมพันธ์ของรายละเอียดในปัญหานั่นอย่างทะลุ
ปรุโปร่ง
กลุ่มเกสตัลท์
เชื่อว่าพฤติกรรมโต้ตอบของคนเราเป็นกลุ่มของพฤติกรรมที่มีลักษณะเป็นส่วนรวม
ไม่แยกย่อยออกไป ดังนั้นการแก้ปัญหา หรือการรับรู้ของบุคคล
จะเรียนจากการมองเห็นส่วนรวม หรือโครงร่างทั้งหมด
แล้วนำไปสู่การเห็นความแตกต่างของส่วนย่อยต่างๆ
เหล่านั้นและเริ่มมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งเร้าทั้งหมดชัดเจนขึ้น
นั่นคือเกิดการเรียนรู้แล้ว ดังนั้นการเรียนรู้ตามแนวคิดของกลุ่มนี้ จึงหมายถึง
การมองเห็นแนวทางใหม่ หรือการค้นพบ หรือเกิดความเข้าใจในสถานการณ์
หรือปัญหาที่คนเราประสบอยู่ทำให้เค้ามองเห็นช่องทางแก้ปัญหาในทันทีทันใด
ซึ่งเรียกว่าเกิดการหยั่งเห็น (Insight) ขึ้นนั่นเอง
การหยั่งเห็นจริงเป็นความเข้าใจในสาระสำคัญขององค์ประกอบนั้นว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร
สมควรจะแก้ปัญหาตรงจุดไหนก่อนหลังขึ้นอย่างทันทีทันใด
เป็นความคิดที่แวบขึ้นมาอย่างรวดเร็ว หลังจากที่เห็นโครงร่างทั้งหมดของปัญหานั้น
แล้วใช้เวลาใคร่ครวญอยู่ระยะหนึ่ง กลุ่มเกสตัลท์
ได้เน้นว่าการเรียนรู้นั้นเกิดขึ้นเมื่อมีการคิดแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ให้ตกไป
โดยอาศัยความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง หรือการหยั่งเห็น
ไม่ใช่การตอบสนองต่อสิ่งเร้าแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
การทดลองของทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์
การทดลองของโคห์เลอร์
เป็นการทดลองที่อธิบายว่า การเรียนรู้เกิดจากการที่ผู้เรียนมีการหยั่งเห็นและคิดแก้ปัญหาได้
เขาทำการทดลองกับลิงชิมแพนซีที่ชื่อว่า “สุลต่าน”
(Sultan) โดยเขากับลิงใส่ไว้ในกรงและวางกล้วยไว้นอกกรง
ในระยะที่ลิงเอื้อมด้วยมือเปล่าไม่ถึง พร้อมกับวางท่อนไม้ที่มีขนาดต่างกัน
สั้นบ้าง ยาวบ้าง ท่อนสั้นอยู่ในกรง แต่ท่อนยาวอยู่ห่างออกไป
เมื่อลิงเห็นกล้วยจึงพยายามแสดงพฤติกรรมต่างๆ เช่น เอื้อมมือหยิบ เขย่ากรง ปีนป่าย
เพื่อจะเอากล้วยมากิน แต่ไม่สำเร็จ
มันจึงหันมาลองใช้ไม้ท่อนสั้นที่อยู่ใกล้กรงเขี่ยกล้วย แต่ก็ยังเขี่ยไม่ถึง
มันจึงวางไม้ท่อนสั้นลง และหยุดมองไปมองมาแล้วทำท่าทางครุ่นคิด แต่ทันใดนั้นลิงก็ลิงก็จับไม้ท่อนสั้นเขี่ยไม้ท่อนยาวมาใกล้ตัว
และหยิบไม้ท่อนยาวเขี่ยกล้วยมากินได้ แสดงว่าลิงเกิดการหยั่งเห็น (Insight)
ในการแก้ปัญหา คือ มองเห็นความสัมพันธ์ของไม้ท่อนสั้นและท่อนยาว
และกล้วย การที่โคห์เลอร์จัดให้มีการทดลองเช่นนี้ เพราะเขาต้องการจะแสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้นั้นขึ้นอยู่กับการจัดแบบแผนการคิดเสียใหม่
ลิงเคยมีประสบการณ์กับการใช้ไม้เขี่ยสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในกรง
เมื่อมาพบสิ่งแวดล้อมใหม่สิงสามารถนำความรู้เดิมมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้คือ
ใช้ไม้ท่อนสั้นเขี่ยไม้ท่อนยาว และใช้ไม้ท่อนยาวเขี่ยกล้วยอีกทีหนึ่ง
สรุปว่าทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้คือ
การรับรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์เก่าและใหม่
ลิงไม่ได้แก้ปัญหาโดยการวางเงื่อนไขหรือการลองผิดลองถูกแต่แก้ปัญหาโดยการมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างไม่
2 ท่อนกับกล้วย กลุ่มนี้เน้นการเรียนรู้จะต้องอาศัยประสบการณ์เดิมมาเชื่อมโยงกับปัญหานั้น
เนื่องจากการจัดส่งแวดล้อมให้เข้ากับประสบการณ์เดิม
ทฤษฎีพุทธิปัญญานิยมหรือทฤษฎีความรู้ความเข้าใจกับการจัดการเรียนรู้
1. ก่อนดำเนินการสอน
ควรชี้ให้ผู้เรียนเห็นถึงขอบข่าย จุดมุ่งหมาย และประสบการณ์ของบทเรียน
เพื่อให้เห็นภาพรวมๆ หรือโครงสร้างของบทเรียนเสียก่อน
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนโดยอาศัยความคิดความเข้าใจ
3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
อันจะนำไปสู่การคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น
4. สอนวิชาต่างๆ
ให้สัมพันธ์กัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่กว้างขวาง
และนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้
5. จัดบทเรียนจากง่ายไปหายาก
และแบ่งบทเรียนเป็นตอนๆให้เหมาะสม
6. สอนให้สอดคล้องกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
สยุมพร ศรีมุงคุณ (https://www.gotoknow.org/posts/341272) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม
(Cognitivism) ไว้ว่า เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง
นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น
การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล
การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี 5 ทฤษฏี
คือ
1. ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt
Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์
บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้
2. ทฤษฎีสนาม
(Field Theory)
แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ
การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าไปอยู่ใน
“โลก” ของผู้เรียน
การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
3. ทฤษฎีเครื่องหมาย
(Sign Theory) ของทอลแมน
( Tolman)
แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้คือ
การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการสร้างแรงขับและหรือแรงจูงใจให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ โดยใช้เครื่องหมาย สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ
ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย
4. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual
Development Theory)
นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่ 2 ท่าน
ได้แก่ เพียเจต์(Piaget) และบรุนเนอร์(Bruner) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ
คำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น
ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ ควรเด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งงเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผุ้เรียน
5. ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A
Theory of Meaningful Verbal Learning) ของออซูเบล(Ausubel) เชื่อว่า การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน
หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ
มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์
หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ
จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย
เลิศชาย
ปานมุข (http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=2874.0
;wap2) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยมไว้ดังนี้
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism) เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง
นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น
การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น
ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี 5 ทฤษฏี คือ
1. ทฤษฎีเกสตัลท์
(Gestalt Theory)
แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์
บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย
2. ทฤษฎีสนาม
(Field Theory)
แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ
การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ
3. ทฤษฎีเครื่องหมาย
(Sign Theory) ของทอลแมน (Tolman)
แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ
การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง
4. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
(Intellectual Development Theory) นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่ 2 ท่าน
ได้แก่ เพียเจต์ (Piaget) และบรุนเนอร์ (Bruner) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง
5. ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
(A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของออซูเบล
(Ausubel)
เชื่อว่า
การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน
หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ
มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์
หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ
จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย
สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม
เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด
ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง
การเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น
แต่การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล
การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง
ที่มา
มาลิณี
จุโฑปะมา. (2554). จิตวิทยาการศึกษา Educational
Psychology. บุรีรัมย์ :
เรวัตการพิมพ์.
สยุมพร ศรีมุงคุณ. ( https://www.gotoknow.org/posts/341272)
.ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้. [online].
เข้าถึงเมื่อ 17 กรกฎาคม 2561
เลิศชาย
ปานมุข.http://www.banpraknfe.com/webboard/index.phptopic=2874.0;wap2).
ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ - GotoKnow. [Online]
เข้าถึงเมื่อ 17 กรกฎาคม 2561
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น